ประวัติศิลปะไทยที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษสมัยอดีตกาลได้เปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลและสมัยนิยมของแต่ละยุค

10

ศิลปะไทย เป็นศิลปะประจำชาติของชาวไทย ซึ่งมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษสมัยอดีตกาลได้เปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลและสมัยนิยมของแต่ละยุค เช่น อิทธิพลของอินเดียที่เข้ามาพร้อมกับ พุทธศาสนาดินแดนนี้นามว่า “สุวรรณภูมิ” เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์จนได้ชื่อว่า “เมืองทอง” ดังกล่าว จากหลักฐานการสร้างสรรค์ของมนุษย์ในดินแดนไทยแบ่งได้ 3 ยุค คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานการศึกษาศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ ยุคหินเก่า ระยะเวลาประมาณห้าแสนปีถึงห้าหมื่นปี พบเครื่องมือหิน ที่จังหวัดกาญจนบุรี เชียงราย น่าน และลพบุรี เครื่องมือหินที่พบได้แก่ ขวานหินกะเทาะจากก้อนหินอย่างหยาบๆ ยุคหินกลาง ระยะเวลาประมาณหนึ่งหมื่นปีถึงห้าพันปี พบเครื่องมือหินกะเทาะในท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลพบุรี สระบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี เครื่องมือมีความประณีตงดงามมากขึ้นกว่าเดิม ยุคหินใหม่ ระยะเวลาประมาณห้าหมื่นปีถึงห้าพันปี พบเครื่องมือหินอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยรวมกันเป็นหมู่บ้าน บนหินใกล้แหล่งน้ำ รู้จักทำขวานหินให้ประณีตงดงาม รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา ทำเครื่องประดับ เครื่องประกอบพิธีกรรมต่างๆ นักโบราณคดีบางท่านให้ความเห็นว่ามนุษย์ยุคหินใหม่ในประเทศไทย คือ บรรพบุรุษของคนไทยเราในปัจจุบัน เครื่องมือที่พบ ได้แก่ ปลายหอก กำไลทำด้วยหิน หม้อหุงข้าว ภาชนะใส่อาหาร มีลวดลายเชือก ลายเสื่อ และลายจักสาน เป็นต้น

ยุคโลหะ ระยะเวลาประมาณแปดพันปีถึงสองพันปีพบเครื่องโลหะและเครื่องดินเผาที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี มีอายุประมาณเจ็ดพันปีเศษ ที่พบมากในประเทศไทย ได้แก่ กลองมโหระทึก อาวุธ เครื่องใช้ และเครื่องประดับพบภาพเขียนสีและภาพแกะสลักผนังถ้ำ ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคนี้ เช่น ถ้ำเขาเขียว ภาคกลางพบที่จังหวัดกาญจนบุรี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น อุดรธานี และทางภาคใต้พบที่จังหวัดพังงาเป็นต้น ภาพเขียนและภาพแกะสลักบนผนังถ้ำ(Cave arts) ถือเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดเป็นวัฒนะธรรมการสร้างอีกอย่างหนึ่งของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สีที่ใช้จะเป็นสีของดิน ได้แก่ สีแดง สีเหลือง และสีดำ เขียนเป็นภาพสัตว์ ลายเลขาคณิต และภาพคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ชาติไทย  แบ่งตามหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ดังนี้ศิลปะรุ่นเก่า จากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากอินเดียมายังดินแดนสุวรรณภูมิบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ศิลปะและวัฒนธรรมทางศาสนามีผู้นำเข้ามา เช่น พระพุทธรูปขนาดเล็กหล่อด้วยสำริด เป็นศิลปะอมราวดี และพระพุทธศิลปะคุปตะของอินเดีย จึงเข้าใจว่าเป็นตัวอย่างในการสร้างพระพุทธรูป