01/4/17

ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของทวีปแอฟริกา

africa

 

ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาบริเวณประเทศอียิปต์ปัจจุบัน เป็นแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งเริ่มต้นเมื่อประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว ได้แก่ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ สิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมของชาวอียิปต์โบราณ ได้แก่ การชลประทานที่สามารถนำน้ำจากแม่น้ำไนล์มาใช้ในการเกษตรทำให้สามารถเพระปลูกได้ปีละ2-3 ครั้ง การสร้างพีระมิด เป็นที่เก็บศพของนักปกครองและนักรบ การทำมัมมี่ซึ่งสามารถเก็บรักษาศพมนุษย์ได้เป็นพันๆ ปี โดยไม่เน่าเปื่อย การสร้างสฟิงซ์โดยแกะสลักหินเป็นรูปสิงโตหมอบมีหน้าเป็นคน แพะ และเหยี่ยวไว้เป็นสิ่งเคารพ การทำปฏิทินโดยกำหนดให้มีปีละ 365 วัน และเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นเรื่องราวต่างๆ ไว้ที่ฝาผนังที่ฝั่งศพ การเขียนสัญลักษณ์และรูปภาพแทนคำพูดที่เรียกว่า อักษรไฮโรกลีฟิก การทำกระดาษ จากต้นพาไพรัสซึ่งเป็นต้นกกชนิดหนึ่งในเขตลุ่มน้ำไนล์ พวกผิวขาวที่เป็นเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมของแอฟริกาส่วนใหญ่อยู่ทางตอนเหนือของทวีป ได้แก่ พวกอาหรับและเบอร์เบอร์ ส่วนพวกผิวขาวกลุ่มใหม่ที่อพยพไปจากทวีปยุโรปนิยมตั้งถิ่นฐานในเขตอบอุ่นทางตอนใต้ของทวีปโดยเฉพาะในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ มีประมาณ 7 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีพวกผิวขาวจากปากีสถานและอินเดีย ซึ่งอพยพเข้าไปอาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกของทวีป

ในทวีปแอฟริกามีภาษาพูดอยู่ไม่น้อยกว่า 1,000 ภาษา ทั้งนี้เนื่องจากเป็นทวีปที่มีประชากรอยู่หลายเผ่าพันธุ์ แต่อาจแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม

1. กลุ่มภาษาเซมิติก ได้แก่ ภาษาอาหรับ เป็นภาษาของคนส่วนใหญ่ในแอฟริกาเหนือ และบางส่วนในแอฟริกาตะวันออก ส่วนกลุ่มภาษาเซมิติกของชาวยุโรปเป็นภาษาของเจ้าอาณานิคมที่เข้ามาปกครอง เป็นภาษที่ใช้กันแพร่หลายเมื่อไม่นานมานี้ ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ และภาษาดัตช์

2. กลุ่มภาษาซูดาน เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตทุ่งหญ้าสะวันนาทางตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา

3. กลุ่มภาษาบันตู เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคกลางและภาคตะวันออกของทวีป รวมทั้งบางประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ด้วย

4. กลุ่มภาษาเฮาซา เป็นกลุ่มภาษาทางการค้าของประชากรทางภาคตะวันตกของทวีป

ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกายังมีความเชื่อและปฏิบัติตามความเชื่อนั้นสืบต่อกันตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษมาหลายชั่วอายุคน เช่น เรื่องจิตวิญญาณ อำนาจของดวงดาว ภูเขา ต้นไม้ สิ่งมหัศจรรย์  เป็นต้น ส่วนศาสนาที่นับถือกันมาก ได้แก่ ศาสนาคริสต์ มีผู้นับถือมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ศาสนาอิสลาม นอกจานี้ยังมีชาวอินเดียที่อพยพเข้ามาใหม่นับถือศาสนาฮินดูและศาสนายิงก็มีผู้นับถืออยู่บ้าง

10/7/15

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกินอาหารหลักของชาวอีสาน

12ภาคอีสานมีพื้นที่กว้างใหญ่ พื้นที่ราบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักมีทะเลสาบรูปแอกเป็นจำนวนมาก แต่ทะเลสาบเหล่านี้จะมีน้ำเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น เมื่อถึงฤดูร้อนน้ำก็จะเหือดแห้งไปหมด เพราะดินส่วนใหญ่ เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ น้ำจึงซึมผ่านได้เร็ว ภาคนี้จึงมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ และดินขาดความอุดม สมบูรณ์ ทำให้พื้นที่บางแห่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้อย่างเต็มที่ ด้วยที่มีความแห้งแล้ง ขาด แคลนน้ำ ทำให้เกิดความเชื่อ และประเพณีเกี่ยวข้องกับการขอฝน เช่น งานบุญบั้งไฟ ซึ่งถือว่าเป็นเทศกาล สำคัญ หรือด้วยเหตุผลจากความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ ทำให้มีกลุ่มคนหลายกลุ่มอพยพเข้ามาจากดิน แดนใกล้เคียง มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมของกลุ่มขึ้น เช่น การพูดภาษาอีสาน ภาษาเขมร ภาษาส่วยการแสดงหมอลำการร้องกันตรึม เป็นต้น

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกินอาหารหลักของชาวอีสาน คือ ข้าวเหนี่ยว เช่นเดียวกับชาวเหนือ สิ่งของเครื่องใช้เกี่ยวกับการทำและเก็บ อาหารจึงเหมือนกัน ส่วนอาหารจานหลักเกี่ยวกับข้าวเหนี่ยว คือ ปลาร้า ซึ่งเป็นปลาที่นำมาหมักกับเกลือ และรำหรือข้าวคั่ว นำมาปรุงเป็นอาหารประเภทต่างๆ เช่น น้ำพริกปลาร้าหรือน้ำปลาร้ามาเป็นเครื่องปรุงรสแทนน้ำ ปลาในอาหารชนิดต่างๆ เช่น ลาบ ก้อย หมก ต้ม คั่ว แกง อ่อม และอาหารเกือบทุกมื้อต้องมีแจ่วที่ใส่น้ำปลาร้าเป็น เครื่องปรุง ความเคยชินในการรับประทานอาหารของชาว อีสาน คือ ชอบรับประทานอาหารดิบๆ ด้วยความเชื่อว่าจะ ทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่อาหารแบบนี้มีพยาธิใบไม้ในตับ ทำให้ชาวอีสานส่วนใหญ่เป็นโรคพยาธิ และสุขภาพไม่ค่อย ดี ทางการจึงรณรงค์และส่งเสริมให้ชาวอีสานมีความรู้เรื่อง โภชนาการ เพื่อเปลี่ยนค่านิยมในการรับประทานให้ถูกสุขลักษณะวัฒนธรรมเรื่องอาหารการกินของชาวอีสาน

ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วประเทศและต่างประเทศ ที่มีชาว อีสานทำงานอยู่ เห็นได้จากการนำปลาร้ามาแปรรูปเป็นปลาร้าผง ปลาร้าตากแห้ง เพื่อส่งออกไปขายยังต่าง ประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีแรงงานชาวอีสานและชาวลาวอยู่มาก ปลาร้าจึงเป็นสินค้าที่ทำรายได้เข้า ประเทศอีกชนิดหนึ่ง วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย เรือนไทยภาคอีสาน เป็นหนึ่งในเรือนไทย 4 ภาคของไทย แบ่งออกได้เป็นการปลูกเรือนในลักษณะชั่ว คราว กึ่งถาวร หรือเรือนถาวรประเภทของเรือนอีสาน

06/26/15

ศิลปะกลายเป็นของโชว์ประเภทหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับเงินและการศึกษา

14

ศิลปะจะเพื่ออะไรก็ตามถ้าหากศิลปะนั้นไม่มีชีวิตศิลปะนั้นก็ไม่มีพื้นที่ที่จะรับใช้อะไรทั้งสิ้นประวัติศาสตร์ศิลปะในบ้านเรายังไม่มีภาพรวมที่ทำให้มองเห็นความเป็นมาและมีบทสรุปชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์ศิลปะของทางตะวันตกแล้ว เราจะเห็นว่าของเขาจัดเป็นระบบและมีข้อมูลชั้นต้น ชั้นสอง ชั้นสาม ให้ศึกษารับรู้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวไม่ว่าจะเป็นสมัยเก่าหรือสมัยใหม่ แต่ของเรา เก่าก็ยังไม่เป็นระบบ ส่วนใหม่ก็กระจัดกระจายกันไปแบบตัวใครตัวมัน โดยมีคำว่า ใจรัก มาหล่อเลี้ยงให้หลอกตัวเองไปเรื่อยๆ เราไม่มีระบบในแง่การจัดหมวดหมู่ที่จะเชื่อมโยงกันให้เห็นภาพรวมทั้งหมด เอาแค่หอศิลป์ระดับชาติ หรือแม้แต่หอสมุดแห่งชาติก็มีปัญหา ทั้งในแง่นโยบายและตัวบุคคล ว่าไปแล้วโรงอาบอบนวด หรือร้านคาราโอเกะ ยังมีระดับของการจัดหมวดทางรสนิยมให้เห็นมากกว่าเสียด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เห็นว่าเป็นศิลปะมาแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียน ดนตรีหรือวรรณคดีเข้าใจว่าศิลปะในอดีตนั้นมีลักษณะที่รับใช้สิ่งที่เรียกว่าอุดมคติมากกว่าศิลปะในปัจจุบันอุดมคติในที่นี้ อาจหมายถึง สวรรค์ โลกหน้า พระมหากษัตริย์หรือพุทธศาสนาหรืออะไรก็แล้วแต่ เห็นได้ชัดว่ามันถูกตีความเอาไปรับใช้อย่างแน่นอน ปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน ศิลปะถูกมองว่าเป็นตัวสินค้าที่จะนำไปบริโภค ศิลปะตกอยู่ในวงล้อมของรสนิยมแบบคนชั้นกลาง เหมือนที่ครั้งหนึ่งศิลปะตกอยู่ในวงล้อมของกษัตริย์หรือบรรดาขุนนางผู้มีอำนาจ ศิลปะในปัจจุบันคือการบริโภคทางรสนิยมที่ถูกปลูกฝังด้วยค่านิยมและทัศนคติต่างๆ ร้อยแปด ศิลปะกลายเป็นของโชว์ประเภทหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับเงินและการศึกษา

ฉะนั้นสรุปภาพกว้างๆ ของศิลปะจึงเกี่ยวข้องกับสังคมอย่างแน่นอน แต่จะเกี่ยวข้องหรือมีความผูกพันในเชิงอุดมคติมากน้อยแค่ไหน เรื่องนี้ยังมีปัญหา  รายละเอียดการทำงานศิลปะในแต่ละสาขานั้น เมื่อพูดถึงศิลปะสมัยใหม่ หรือศิลปะที่ปรากฏในปัจจุบันนั้น ผมเข้าใจว่ามันมิได้เป็นมรดกของชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งโดยเฉพาะอีกต่อไป ศิลปะไม่ได้อยู่ที่วัด ไม่ได้อยู่ที่วัง แม้ในปัจจุบันจะมีภาพออกมาว่าอยู่ที่พ่อค้า แต่พ่อค้าก็มิได้มีอยู่กลุ่มเดียวพวกเดียว พ่อค้าก็มีรสนิยมต่างๆ กันไป สิ่งที่ปรากฏในปัจจุบัน ศิลปะจึงแตกตัวไปหลายอย่าง และก็มีหลายสาขา มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน อย่างที่บอกว่า ศิลปะนั้นส่องทางให้กัน ศิลปะกับสังคมปัจจุบันไม่มีการจำกัดทางรสนิยม คือมันไม่ได้ผูกขาดอยู่ที่ชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งทั้งในเรื่องรูปแบบและเนื้อหา ผมไม่อยากเรียกว่ามันเป็นประชาธิปไตยทางศิลปะ แต่ก็ดูเหมือนมันเป็นเช่นนั้น จนบางครั้ง บางยุค จะกลายเป็นอนาธิปไตยเสียด้วยซ้ำ

05/26/15

วิวัฒนาการเจริญของศิลปะที่เป็นกิจกรรมที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์แสดงออกจากความรู้สึก

22

ได้มีผู้ให้คำนิยามเกี่ยวกับความหมายของศิลปะไว้มากมาย ทั้งนักปรัชญา นักวิจารณ์ และนักศึกษาศิลปะ เนื่องจากศิลปะเป็นกิจกรรมที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์แสดงออกจากความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์จากมโนภาพที่ได้จากความจริงหรือจากจินตนาการที่คิดฝันขึ้น โดยใช้ภาษาของศิลปะเป็นสื่อกลางให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจในอุดมการณ์นั้น งานศิลปะที่มีคุณค่าจึงสร้างสรรค์ขึ้นจากการแก้ปัญหาที่ต้องใช้สติปัญญาอันสูงส่งจนเชื่อกันว่า มนุษย์เท่านั้นที่มีสติปัญญาจนถึงขั้นที่สามารถจะแก้ปัญหาสร้างสรรค์งานศิลปะได้ ทำให้ผลงานมีวิวัฒนาการเจริญต่อเนื่องเป็นลำดับ ความหมายของคำว่า “ศิลปะ” นั้นมีความหลากหลายตามการนิยามต่าง ๆ กันดังนี้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2541 ให้คำจำกัดความว่า ศิลปะ หมายถึง ผลแห่งพลังความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือ ความสะเทือนอารมณ์ ตามอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา รสนิยมและทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ หรือเพื่อสนองตอบขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หรือความเชื่อในลัทธิศาสนา

เนื่องจากธรรมชาติเป็นแหล่งทรัพยากรอันสำคัญของศิลปะ เป็นแหล่งกระตุ้นให้มนุษย์เกิดแรงดลใจในการสร้างสรรค์ศิลปวัตถุของมนุษย์ทุกแขนง เป็นแหล่งรวมความรู้สาขาต่าง ๆ ศิลปินเชื่อว่าธรรมชาติรอบตัวนั้น เป็นวัตถุแห่งความรื่นรมย์ยินดี สร้างความเบิกบานให้แก่ตนเองและผู้อื่นนานัปการ ศิลปินจึงพยายามถ่ายทอดความรู้สึกต่าง ๆ ดังกล่าว บันทึกเป็นงานศิลปะ เพื่อเป็นหลักฐานไว้ตามความสามารถและด้วยวัสดุที่เห็นว่าเหมาะสม หลักการทำงานของศิลปินในการทำงานศิลปะ จึงแตกต่างกันตามยุคสมัย เช่น สมัยหนึ่งเชื่อว่าศิลปะจะต้องเลียนแบบธรรมชาติ สร้างให้เหมือนธรรมชาติ ผลงานจะปรากฎเป็นเรื่องของธรรมชาติตามสิ่งที่ตาเห็นมากที่สุด ต่อมามีความเข้าใจว่า การเลียนแบบความเหมือนตามธรรมชาตินั้น ไม่มีความแน่นอน ไม่มีศิลปินคนใดสามารถถ่ายทอดความเหมือนนั้นได้ แนวโน้มการถ่ายทอดก็เปลี่ยนไปศิลปะเป็นผลงานที่เกิดจากการแสดงออกของอารมณ์ ปัญญา และทัศนคติ รวมทั้งลักษณะความชำนาญของมนุษย์ ศิลปะจึงเป็นฝีมือทางการช่าง การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นได้อย่างงดงามน่าพึงชม และเกิดอารมณ์สะเทือนใจ การสร้างสรรค์งานศิลปะในปัจจุบันมีแนวโน้มไปในทางเทคนิค ในการสร้างสรรค์และการแสดงออกของความคิดศิลปะจึงมีความหมายถึงการทำให้วิจิตรพิสดารต่าง ๆ รวมทั้งการใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน

01/24/15

การเปลี่ยนแปลงทางด้านศิลปะกับการเข้ามาของโลกออนไลน์

ปฎิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันนี้ การใช้สื่อทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทและความสำคัญในชีวิตของเราทุกด้าน ศาสตร์ทุกศาสตร์เชื่อมกับเทคโนโลยีและได้รับการออกแบบพัฒนาอย่างต่อเนี่อง หากแต่ในขณะเดียวกัน สื่อทางเทคโนโลยียังมีการเปิดช่องทางสำหรับผู้ด้อยโอกาสน้อยมากโดยเฉพาะด้านการสร้างผลงานศิลปะและงานออกแบบ
ทางสาขาการออกแบบมัลติมีเดีย

ศิลปะเป็นกิจกรรมที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ แสดงออกจากความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ จาก มโนภาพที่ได้จากความจริงหรือจากจินตนาการที่คิดฝันขึ้น โดยใช้ภาษาของศิลปะเป็นสื่อกลางให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจในอุดมการณ์นั้น งานศิลปะที่มีคุณค่าจึงสร้างสรรค์ขึ้นจากการแก้ปัญหาที่ต้องใช้สติปัญญาอันสูงส่งจนเชื่อกันว่า มนุษย์เท่านั้นที่มีสติปัญญาจนถึงขั้นที่สามารถจะแก้ปัญหาสร้างสรรค์งานศิลปะได้ ทำให้ผลงานมีวิวัฒนาการเจริญต่อเนื่อง ศิลปะเป็นผลงานที่เกิดจากการแสดงออกของอารมณ์ ปัญญา และทัศนคติ รวมทั้งลักษณะความชำนาญของมนุษย์ ศิลปะจึงเป็นฝีมือทางการช่าง การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นได้อย่างงดงามน่าพึงชม และเกิดอารมณ์สะเทือนใจ การสร้างสรรค์งานศิลปะในปัจจุบันมีแนวโน้มไปในทางเทคนิค ในการสร้างสรรค์และการแสดงออกของความคิดศิลปะจึงมีความหมายถึงการทำให้วิจิตรพิสดารต่าง ๆ รวมทั้งการใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงต่องานศิลปะ ทั้งทางแนวคิด สุนทรียะ วัฒนธรรมการแสดง รวมทั้งการเสพ ดังเช่นเทคโนโลยีการพิมพ์ เทคโนโลยีการบันทึกภาพและเสียง หรือเทคโนโลยีด้านการขยายเสียง ที่เคยเปลี่ยนแปลงวงการหนังสือ หนัง และเพลงอย่างมหาศาลมาแล้วในอดีต เช่นเดียวกันกับเทคโนโลยีอย่างอินเทอร์เน็ต ที่นำความเป็นไปได้แบบใหม่มาสู่ผู้คนและวงการนี้เช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงที่อินเทอร์เน็ตที่ส่งผลต่อวงการศิลปะวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยมในวิถีชีวิตผู้คนยุคปัจจุบัน อันได้แก่ หนัง เพลง และหนังสือ ซึ่งเป็นการพยายามมองหรือทำความเข้าใจกิจกรรมในโลกออนไลน์หรือสังคมอินเทอร์เน็ตให้กว้างไปจากเดิม และเฉพาะเจาะจงขึ้น

ในหลายครั้งที่ผ่านมา การพยายามทำความเข้าใจนี้ ได้ใช้การนำเอาคุณค่าหรือมุมมองแบบเก่ามารองรับหรือสวมทับสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในโลกออนไลน์ โดยยังไม่ได้ตั้งคำถามหรือพยายามทำความเข้าใจที่มาของคุณค่าที่นำมาสวมทับให้ดีก่อน จนบางครั้งทำให้เกิดปัญหาต่อการทำความเข้าใจ (เช่นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา)

08/27/14

ความเป็นมาของวัฒนธรรมออสเตรเลียและความชอบงานศิลปะต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร

วัฒนธรรมออสเตรเลียมีพื้นฐานอยู่บนเรื่องราวของนักต่อสู้ เจ้าหน้าที่ดูแลป่า และทหารผู้กล้า  เรื่องราวของวีรบุรุษนักกีฬา วีรบุรุษนักทำงาน และนักอพยพผู้กล้า  ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องของความเสมอภาค ชีวิตกลางแจ้งอันวิเศษ และการมีน้ำใจต่อผู้ถูกเย้ยหยัน  ปัจจุบัน ออสเตรเลียยังนิยามตัวเองว่าเป็นมรดกของชาวอะบอริจิน การผสมผสานทางวัฒนธรรมอันมีสีสัน นวัตกรรมทางความคิด และแหล่งศิลปะอันรุ่งเรือง

ยุคความฝัน Dreamtime คือ ห้วงเวลาก่อนการเกิดเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ของการสร้างโลก  ตามความเชื่อของชาวอะบอริจิน บรรพบุรุษวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ได้ขึ้นมาจากใต้พื้นโลก และลอยลงมาจากฟากฟ้าเพื่อปลุกโลกที่มืดมนและเงียบงันให้ตื่นจากหลับไหล  พวกเขาสร้างดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่าง ๆ หลอมรวมบรรดาภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ และแอ่งน้ำทั้งหลายเข้าด้วยกันจนอยู่ในรูปมนุษย์และสัตว์  บรรพบุรุษวิญญาณศักดิ์สิทธิ์เชื่อมโยงอดีตกาลโบราณนี้เข้ากับปัจจุบันและอนาคตผ่านทุกแง่มุมของวัฒนธรรมอะบอริจิน  ศิลปะการเขียนภาพบนหิน งานฝีมือ และงานเขียนสีบนเปลือกไม้ แสดงให้เห็นเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับยุคความฝัน แสดงขอบเขตดินแดน และบันทึกประวัติศาสตร์ ในขณะที่บทเพลงต่าง ๆ บอกถึงการเดินทางในยุคความฝัน โดยแสดงแหล่งน้ำและสถานที่สำคัญ ๆ ไว้เป็นคำพูด  บทกวีพิเศษของพวกเขาได้รับการสืบสานเรื่อยมาโดยไม่เปลี่ยนแปลงนับเป็นเวลาอย่างน้อย 50,000 ปี และบ่อยครั้งจะประกอบด้วยเสียงเคาะไม้ให้จังหวะ หรือเสียงทุ้มต่ำของขลุ่ยไม้ดิดเกอร์ริดู ในลักษณะที่คล้ายคลึงกันนี้ ระบำพื้นเมืองเผยให้เห็นตำนานการสร้าง แสดงการกระทำของวีรบุรุษแห่งยุคความฝัน และแม้แต่เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้

ชาวออสเตรเลียมีความรักในศิลปะอย่างเงียบ ๆ  เราพากันไปชมภาพยนตร์ จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมตามหอศิลป์และเวทีการแสดงมีมากเกือบเป็นสองเท่าของจำนวนผู้เข้าชมฟุตบอล  เมืองใหญ่ ๆ ของเราเป็นเจ้าภาพจัดงานเทศกาลทางวัฒนธรรมที่สำคัญหลายเทศกาล เมืองเหล่านี้จัดการแสดงดนตรี ละคร เต้นรำ และงานแสดงผลงานศิลปะทุกวันตลอดสัปดาห์  ชมการแสดงเต้นรำพื้นเมืองของชาวอะบอริจินโดย Bangarra Dance Theatre สนุกสนานกับงานเทศกาลดนตรีนานาชาติ WOMADelaide International Music Festival ในเมืองแอดิเลด และดื่มด่ำกับวัฒนธรรมด้วยการชมละครเวที บัลเลต์ อุปรากร และภาพวาดในศูนย์วัฒนธรรมขนาดใหญ่ย่านเซาท์แบงก์ของเมืองบริสเบรน  ในเมืองขนาดเล็ก คุณสามารถดูการแสดงของนักดนตรีพื้นเมือง และชมงานศิลปะและงานประดิษฐ์ที่ทำด้วยมือได้

07/19/14

การปรับเข้าสู่วัฒนธรรมโลก รับมือกับวัฒนธรรมที่หลากหลาย

กระบวนการโลกาภิวัฒน์ที่หมายถึงการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมสากลโลกนั้น ไม่ได้หมายความว่าคนทั้งโลกจะมีวัฒนธรรมเพียงชุดเดียว  มนุษย์เราต้องการเอกลักษณ์และความเฉพาะตัว  มีรากเหง้า เชื่อว่าการบริหารจัดการสังคมสมัยที่ซับซ้อนหลากหลายและมีพลวัตรคือปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับสังคมวัฒนธรรม  ในการตอบสนองต่อสังคม  รัฐต้องสามารถแทรกแซงและจัดการความขัดแย้งทางสังคมการเมืองได้  วิธีการจัดการนี้เรียกว่า governance ซึ่งแตกต่างจาก governing ตามที่เข้าใจกันว่าเป็นการจัดการโดยคณะบุคคลแยกต่างหากจากสังคมโดยรวม  ดังนั้นในกระบวรการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา  ความต้องการในสังคมมีอย่างน้อย 2 ระดับ  ในระดับสังคมมีความจำเป็นที่จะต้องวางแผนและกำกับทิศทาง ในระดับปัจเจก คือ ความจำเป็นที่จะต้องมีเสรีภาพ อิสระ และการมีอัตลักษณ์เฉพาะตัว องค์ประกอบของการบริหารจัดการที่ดีใน 2 ระดับนี้คือความสมดุลระหว่างองค์ประกอบส่วนสาธารณะและส่วนปัจเจกบุคคล

แนวคิด ความหลากหลายทางวัฒนธรรม  มีความเกี่ยวข้องและทับซ้อนกับแนวคิด คือ เมื่อเกิดกระแสโลกาภิวัตน์นั้นได้เกิดแนวคิดหรือกระแสที่จะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและการรักษาษาความหลากหลายวัฒนธรรมให้คงอยู่ด้วยการเกิดคู่ตรงข้ามของโลกาภิวัตน์คือ ท้องถิ่นนิยม และแนวคิดของอัตลักษณ์ ดังนั้นศึกษาวัฒนธรรมจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาและทำความเข้าใจวัฒนธรรมภายใต้กรอบของการเปลี่ยนแปลงและการก้าวพ้นออกจากพื้นที่และเวลา  เชื้อชาติ  ศาสนา  ภาษาและพรมแดนรัฐชาติในอดีต

วัฒนธรรมในปัจจุบันไม่ได้อยู่ในรูปของพฤติกรรม ศิลปะ ขนบธรรมเนียม หรือความเชื่อเท่านั้น แต่วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจสามารถกระทำการสร้างอำนาจหรือความชอบธรรมไดด้วย ในช่วงสมัยที่มารช่วงชิงอำนนาจเพื่อครอบงำระชากรโลก วัฒนธรรมคือกลไกในการเผยแพร่อุดมการณ์ได้เป็นอย่างดี แต่ในสมัยที่ความแตกต่างของอุดมการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจลดความสำคัญลง สิ่งที่ปรากฎให้เห็นเด่นชัดคือการลดความสำคัญของวัฒนธรรมรัฐชาติ วัฒนธรรมกลุ่มย่อยต่างๆ ปราะกฎรูปแบบชัดเจนมากขึ้น จนเกิดการยอมรับความคิดเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม

วัฒนธรรมอาจจะมีความแตกต่างกันได้ทั้งในระดับแนวนอนและแนวตั้ง โดยสาระแล้ว ความแตกต่างที่แท้จริงก็คือระหว่าง สิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมที่เป็นไปตามแนวนอนและแนวตั้ง ซึ่งไม่ได้หมายความถึงความเท่าเทียมกันทางวัฒนธรรม (ความเสมอบ่า เสมอไหล่ทางวัฒนธรรม) กับ วัฒนธรรมที่มีสูงกว่ากับวัฒนธรรมที่ต่ำกว่าแต่อย่างใด แต่ในความหมายของวัฒนธรรมที่รู้หรือยอมรับกันในระดับหนึ่ง กับวัฒนธรรมที่มีอยู่หลายๆระดับและหลากหลายสัมพันธภาพ ซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีความหมายลึกถึงการใช้ทรัพยากรที่ต่างกันมนุษย์จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง แลกเปลี่ยน และมีทางเลือกตลอดเวลา เพราะคำตอบเก่าไม่สามารถใช้ได้ชั่วกัลปาวสานต้องปรับคำตอบใหม่สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ฉะนั้น สังคมใดที่ขาดความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาจจะไม่สามารถที่จะเผชิญความเปลี่ยนแปลงได้ แล้วจะต้องล่มสลายไปในที่สุด หรือไม่ก็จะต้องไปเลือก ซึ่งไม่เหมาะกับสังคมตนเองมาใช้ แต่อย่างไรก็ตามความหลากหลายทางวัฒนธรรมไม่ได้หมายถึงการมีเสรีภาพเต็มที่ที่จะประพฤติปฏิบัติตามใจตนเอง จนส่งผลให้เกิดปัญหาการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างขาดความสมดุล  แต่หมายถึงการยอมรับและอยุ่ร่วมกันบนพื้นที่แห่งความหลากหลายทางความคิดและการดำรงชีวิต (livelihood) ซึ่งก็ไม่ได้หมายถึงการทำให้ “อนุวัฒนธรรม” เป็นเพียงตัวประกอบในวัฒนธรรมกระแสหลักเท่านั้น ดังนั้นการสร้างความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมเป็นการสร้างฐานรากที่สำคัญของมิตรภาพและความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างชาติ  ในโลกที่มีการติดต่อสัมพันธ์ด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว  จะต้องเสริมความเข้าใจระหว่างกันด้านความคิด วิถีชีวิต จารึกและค่านิยมที่ยังหลากหลายมากในโลกปัจจุบัน

06/23/14

การเรียนรู้ศิลปะทางสังคมและวัฒนธรรมของโลกต่างๆ

11

เมื่อพิจารณาศิลปะร่วมสมัยแบ่งออกเป็นประยุกต์ศิลป์และวิจิตรศิลป์จะเห็นว่า การดำรงอยู่และการพัฒนาของประยุกต์ศิลป์หลายแขนงในยุคสมัยต่างๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันมีลักษณะที่ต่อเนื่องเป็นรูปธรรม ด้วยเหตุผลจากความต้องการใช้สอยเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก รวมถึงเหตุผลทางธุรกิจ กลไกตลสาด อุปสงค์และอุปทาน ในขณะที่งานวิจิตรศิลป์บางแขนงกำลังประสบปัญหาด้านความอยู่รอด ทั้งความอยู่รอดของศิลปินและความอยู่รอดของตัวศิลปะเอง เงื่อนไขเชิงคุณค่า ทำให้กรอบวิวัฒนาการของประยุกต์ศิลป์กับวิจิตรศิลป์นั้นมีรูปร่างที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เพราะประยุกต์ศิลป์ เช่น สถาปัตยกรรม มัณฑนศิลป์ เรขศิลป์ แฟชั่น หรืองานศิลปะในสาขาอื่นใดที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการใช้สอย มีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเป็นตัวกำหนดรูปแบบมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง ลัทธิความเชื่อ ค่านิยม ร่วมกับปัจจัยทางภายภาพและศาสตร์อื่นๆ เช่น หลัก สรีรศาสตร์ ประชากรศาสตร์ จิตวิทยา เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองการใช้งานให้ได้ประโยชน์สูงสุดควบคู่ไปกับการสร้างสุนทรียะให้กับผู้เสพ ในขณะที่การสร้างสรรค์งานวิจิตรศิลป์เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ แรงบันดาลใจของศิลปินเป็นหลัก และมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแรงสั่นสะเทือนทางอารมณ์ความคิดของผู้เสพเป็นสำคัญ

หากจะตั้งสมมุติฐานว่า เหตุผลที่ทำให้ศิลปะดำรงอยู่เพื่อจรรโลงสังคมในสถานะที่พึ่งพิงตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นวิจิตรศิลป์หรือประยุกต์ศิลป์ก็ตาม นั่นคือศิลปะนั้นจะต้องเป็นที่ต้องการหรือต้องรสนิยมของผู้เสพ ซึ่งอาจหมายถึงความต้องการทางด้านการใช้สอย หรือความต้องการทางด้านจิตใจ จึงเป็นหนน้าที่ของศิลปินที่จะต้องแสวงหาความอยู่รอดของตัวเอง ภายใต้เงื่อนไขความเป็นจริงต่างๆ ในสังคม ณ ยุคสมัยของตน ซึ่งจะเป็นการต่อสู้ทั้งในเรื่องภาวะเศรษฐกิจ สังคม หรือค่านิยมความเชื่อและความรู้ความเข้าใจของประชาชน การวางพื้นฐานการรับรู้ที่สังคมจะมีต่องานศิลปะ เพื่อให้การเปิดรับและหากมองในเชิงการตลาด ก็หมายถึงกระบวนการในการการสร้างความต้องการบริโภคให้เกิดขึ้นนั่นเอง แม้ว่าความต้องการบริโภคจะเป็นดาบสองคมที่นำไปสู่ระบบการผลิตซ้ำ เพื่อให้เกิดงานที่ขายได้ อันจะส่งผลให้ศิลปินขาดแคลนแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์อันบริสุทธิ์ในการสร้างสรรค์งานซึ่งเป็นตัวทำลายคุณค่าของศิลปะในเวลาเดียวกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่า หากศิลปินไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ งานศิลปะก็จะไม่เกิดขึ้น

05/21/14

รู้จักภูมิปัญญาทางการเงินจากบาร์บิโลน

พอดีมีโอกาสได้อ่านหนังสือ “เศรษฐีชี้ทางรวย” ซึ่งเป็นเรื่องเล่าคล้าย ๆ นิยายของ บุรุษผู้มั่งคั่งแห่งมาบิโลน ซึ่งเป็นเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิดเรื่องของการเงินได้เป็นอย่างดีครับ สำหรับเพื่อนๆ  คนไหนสนใจวิธีคิดการจัดการเรื่องของการเงิน แนะนำให้ไปอ่านหนังสือเล่มนี้เลยครับ รับรองว่าเป็นเรื่องเล่าที่สนุก และดีขึ้นมาก ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้นี่เอง ที่จะสามารถสร้างและปั้นตัวให้เรานั้นได้เห็นอนาคตที่ชัดเจนขึ้นอย่างแน่นอนนั่นเองครับ

รู้จักภูมิปัญญาทางการเงินจากบาร์บิโลน

สำหรับบุรุษแห่งบาร์บิโลน หลาย ๆ คนอาจจะไม่ค่อยได้คุ้นชื่อมากนัก เพราะเป็นเมืองเก่าแก่ แถวแม่น้ำยูเฟรติส ตอนนี้ล่มสลายอยู่ใต้พื้นดินแล้วหล่ะครับ แต่มีเรื่องเล่าในส่วนของภูมิปัญญาของการจัดการด้านการเงินที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลย ซึ่งหากเพื่อน ๆ มีปัญหาเรื่องการเงินอยู่ ก็แนะนำหนังสือที่ผมว่าไปตั้งแต่ตอนแรกได้เลยครับ อาจจะหายากนิดหน่อย เพราะตอนนี้ทางสำนักพิมพ์ได้เลิกสั่งพิมพ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเอง

สำหรับในเนื้อเรื่องตามหนังสือนั้น เป็นเนื้อเรื่องที่สอดแทรกแง่คิด มีตัวละครหลายตัว ซึ่งมีทั้งนายทุนปล่อยกู้ อาร์บัด และคนอื่นๆ  อีกมากมายซึ่งผมเองก็จำไม่ได้เช่นเดียวกัน มี่ช่วงของเนื้อเรื่องที่คนสมัยนั้น มาประชุมเพื่อถกเถียงและหาความรู้ร่วมกัน อย่างเช่นการถกเถียงหัวข้อว่า “โชคดี” เกิดจากอะไร? เช่นเป็นการจำลองสถาการณ์ที่เยี่ยมยอดที่สุด นั่นก็คือว่า การได้เห็นว่าโชคดีที่ได้มาโดยไม่ต้องออกแรงเหนื่อยนั้น เกิดจากอะไรกันแน่

และนี่คือหัวข้อเบื้องต้นที่ทางเรานั้นได้มีข้อมูลสรุปร่วมกันนั่นเองครับ ถ้าคิดไปแล้วหากตามหมู่บ้านของเรานั้น มีพื้นที่ส่วนกลางหนึ่งของหมู่บ้าน โดยในแต่ละวันจะมีคนมาถกเถียงเพื่อหาความรู้กันในแต่ละวันอย่างเยี่ยมยอด หาข้อสรุปร่วมกัน โดยสิ่งนี้นั้น จึงไม่แปลกที่ชาวบาร์บิโลน จะมีความมั่งคั่งในยุคสมัยก่อนได้อย่างลงตัวนั่นเอง สิ่งที่สำคัญตอนนี้นั้น ภูมิปัญญาทางการเงินที่ได้รับมานั้น ย่อมสร้างความแตกต่างและความมั่งคั่งให้กับผู้ที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลานั่นเอง และสิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นคุณค่าอย่างยิ่งในเวลาต่อมาด้วยนั่นเองครับ