10/25/14

ศิลปะแทบทุกแขนงของไทยถูกสร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลใจทางศาสนา

ศิลปินในอดีตสร้างงานเพื่อรับใช้สถาบันและมีสถานะเปรียบเสมือนฐานันดรพิเศษที่ถูกอุ้มชูโดยชนชั้นสูง แต่เมื่อศิลปินหยุดสร้างงานศิลปะเพื่อปัจเจกบุคคล จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ศิลปะจะต้องอุ้มชูตัวเอง แต่ด้วยปัญหาจากการที่ประชาชนส่วนใหญ่ของสังคมไทย ยังไม่มีพื้นฐานการบริโภคศิลปะในระดับวัฒนธรรม โดยเฉพาะการบริโภคศิลปะเพื่อเป็นอาหารของจิตใจ จึงทำให้ศิลปะบางแขนงอยู่นในสภาพที่ต้องต่อสู้อย่างหนัดเพื่อความอยู่รอด

และหากมองย้อนไปถึงจุดเปลี่ยนแบบก้าวกระโดดของการสร้างสรรค์ศิลปะในประเทศไทย อันเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดการแบ่งแยกศิลปะออกเป็นแบบประเพณีและแบบร่วมสมัย ก็จะพบว่า จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 อัน้เป็นช่วงเวลาที่การล่าอาณานิคมกของชาติตะวันตกในเอเชียอาคเนย์กำลังเฟื่องฟู

เพื่อเป็นการลบล้างภาพลักษณ์ป่าเถื่อน อันเป็นข้ออ้างส่วมมากในการกลืนประเทศต่างๆ ของตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงดำเนินกุศโลบายอันแยบคาย ด้วยการสร้างอารยธรรมใหม่ขึ้นในสยาม ถือเป็นการเข้ามาอย่าง “เต็มตัว” ของศิลปกรรมตะวันตกและแบ่งตัวออกจากศิลปะดั้งเดิมอย่างชัดเจน

นอกจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกแล้ว รัชกาลที่ 4 ยังทรงแนะนำให้ศิลปินไทย สร้างงานตามแนวคิดทางจิตรกรรม ประติมากรรม แฟชั่น รวมถึงดนตรีตามแบบตะวันตกอีกด้วย ดังโปรดให้มีการสร้างพระที่นั่งแบบยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรกในพระบรมมหาราชวัง และพระราชทานพระราชดำริให้ขรัวอินโข่ง จิตรกรเอกแห่งยุควาดภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถสัดบวรนิเวศวิหารตามอย่างจิตรกรรมแนบตะวันตก โปรดให้หล่อพระบรมรูปเหมือนพระองค์เพื่อส่งไปตอบแทนพระราชไมตรีของพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการสร้างรูปเหมือนบุคคลครั้งแรกของสยาม ไปจนถึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้าจอมที่ตามเสด็จประพาสแต่งกายอย่างทหารสก็อตแลนด์ เป็นต้น

“ศิลปะใหม่” ในเวลานั้น จึงกลายเป็นสินค้าต้นเค้าของศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชกาลต่อมา จนกระทั่งหยั่งรากลงเสมือนศิลปะเพื่อความเป็นอารยะของสยามประเทศในที่สุด ก่อนจะมีการวางรากฐานครั้งใหญ่าในด้านการศึกษาและเผยแพร่ศิลปะหลังจากการเข้ามาของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี กับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรในเวลาต่อมา

ศิลปะแทบทุกแขนงของไทยในยุคก่อนที่จะก้าวสู่ยุคใหม่ ถูกสร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลใจทางศาสนา แต่เมื่อมีศิลปะแนวใหม่ที่สร้างขึ้นจากแรงบันดาลใจและความคติดสร้างสรรค์ของปัจเจกบุคคลเข้ามาทำหน้าที่เสมือนโครงสร้างใหม่ให้กับวงการศิลปะในประเทศไทย มุมมองและวิธีคิดในการสร้างสรรค์จึงเริ่มเปลี่ยนแปลงจากแนวศิลปะแบบประเพณีนิยมเพื่อศาสนามาเป็นศิลปะของบุคคลแต่ละคน ซึ่งก็เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าจากการที่จุดหักเหดังกล่าวมีอิทธิพลของศิลปะตะวันตกเข้ามาครอบงำอย่างชัดเจน

09/20/14

มรดกโลกทางวัฒนธรรมในอาเซียนและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม


หากจะพูดถึง ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน หรือ ASCC คงน้อยคนนักที่จะรู้จัก และเข้าใจถึงความหมายของ ASCC อย่างแท้จริง เมื่อเทียบกับคำฮอตฮิตติดหู อย่างคำว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ “AEC” ทั้งนี้ เมื่อจะต้องทำความเข้าใจกับคำว่า “ASEAN Community” แล้วนั้น ASEAN Community ซึ่งถือเป็นการบูรณาการร่วมกันในระดับภูมิภาค หรือภูมิภาคนิยม ซึ่งเป็นการรวมตัวกันภายใต้ภูมิภาคอาเซียนหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมีกรอบความร่วมมือต่าง ๆ เกิดขึ้น ภายใต้สามเสาหลัก คือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมความมั่นคงอาเซียน และเสาหลักสุดท้าย ก็คือ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเสาหลักที่มีความสำคัญ ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกัน การเป็นเอกภาพร่วมกัน ให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ร่วมกันภายใต้สังคมที่เอื้ออาทร มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน รวมถึงเป้าหมายสูงสุด คือ การสร้างอัตลักษณ์ร่วมกันของประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างเป็น ทางการในปี 2015 นั้น สอดคล้องกับ Motto หรือคำขวัญของอาเซียน คือ One Vision, One Identity, One Community

พหุวัฒนธรรม : กับการรวมตัวของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC)
หากจะตั้งคำถามว่า ASCC สำคัญอย่างไร  จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีการสร้างประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน คำตอบที่ได้ก็ย่อมมีความแตกต่างหลากหลาย มีความสำคัญมากน้อย แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับมุมมอง หรือความคิดเห็นของแต่ละบุคคล แต่เมื่อเรากลับมาฉุกคิดถึงแนวคิดของการรวมตัวดังกล่าว ก็จะพบว่า เราจะสร้างประชาคมอาเซียนอย่างไร ถ้าเรายังมีความแตกต่างกัน การรวมกันของประเทศต่าง ๆ ทั้งสิบประเทศที่แตกต่างกันทั้งเรื่องวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ภาษา ประเพณี วัฒนธรรม รวมถึงผลกระทบที่เกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์ และการขยายจำนวนสมาชิกของอาเซียนจนครบสิบประเทศในปัจจุบัน สำหรับประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยมีแผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

ASEAN : การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
สำหรับการเกิดขึ้นของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ย่อมถือเป็นการเรียนรู้ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย ในทัศนะของผู้เขียน มองว่า กระบวนการดังกล่าวจะสามารถขยายความร่วมมือ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยจำเป็นจะต้องอาศัยกระบวนการการเชื่อมโยงร่วมกัน คือ ASEAN Connectivity ภายใต้การเชื่อมโยงของประชาชนร่วมกัน “People to People Connectivity” ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างการเดินทาง การท่องเที่ยว การไปมาหาสู่ระหว่างกันระหว่างประชาชน การเชื่อมโยงทางสังคม วัฒนธรรม ถือเป็นหัวใจของการเป็นประชาคมอาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวกันอย่างแท้จริง โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ถึงแม้ว่าแต่ละประเทศต่าง ๆ จะมีความหลากหลาย ทั้งในเรื่องชาติพันธุ์ ภาษา วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ มีลักษณะเหมือนหม้อใบใหญ่ที่อุดมไปด้วยความหลากหลายความแตกต่าง มีลักษณะของความเป็นพหุสังคมสูง แต่ภายใต้ความหลากหลายเหล่านั้น กลับมีต้นรากทางวัฒนธรรม หรือมีทุนทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน จึงเป็นการง่ายที่จะเชื่อมโยงกันได้มากยิ่งขึ้น ผ่านการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมของชาวอาเซียน

08/27/14

ความเป็นมาของวัฒนธรรมออสเตรเลียและความชอบงานศิลปะต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร

วัฒนธรรมออสเตรเลียมีพื้นฐานอยู่บนเรื่องราวของนักต่อสู้ เจ้าหน้าที่ดูแลป่า และทหารผู้กล้า  เรื่องราวของวีรบุรุษนักกีฬา วีรบุรุษนักทำงาน และนักอพยพผู้กล้า  ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องของความเสมอภาค ชีวิตกลางแจ้งอันวิเศษ และการมีน้ำใจต่อผู้ถูกเย้ยหยัน  ปัจจุบัน ออสเตรเลียยังนิยามตัวเองว่าเป็นมรดกของชาวอะบอริจิน การผสมผสานทางวัฒนธรรมอันมีสีสัน นวัตกรรมทางความคิด และแหล่งศิลปะอันรุ่งเรือง

ยุคความฝัน Dreamtime คือ ห้วงเวลาก่อนการเกิดเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ของการสร้างโลก  ตามความเชื่อของชาวอะบอริจิน บรรพบุรุษวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ได้ขึ้นมาจากใต้พื้นโลก และลอยลงมาจากฟากฟ้าเพื่อปลุกโลกที่มืดมนและเงียบงันให้ตื่นจากหลับไหล  พวกเขาสร้างดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่าง ๆ หลอมรวมบรรดาภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ และแอ่งน้ำทั้งหลายเข้าด้วยกันจนอยู่ในรูปมนุษย์และสัตว์  บรรพบุรุษวิญญาณศักดิ์สิทธิ์เชื่อมโยงอดีตกาลโบราณนี้เข้ากับปัจจุบันและอนาคตผ่านทุกแง่มุมของวัฒนธรรมอะบอริจิน  ศิลปะการเขียนภาพบนหิน งานฝีมือ และงานเขียนสีบนเปลือกไม้ แสดงให้เห็นเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับยุคความฝัน แสดงขอบเขตดินแดน และบันทึกประวัติศาสตร์ ในขณะที่บทเพลงต่าง ๆ บอกถึงการเดินทางในยุคความฝัน โดยแสดงแหล่งน้ำและสถานที่สำคัญ ๆ ไว้เป็นคำพูด  บทกวีพิเศษของพวกเขาได้รับการสืบสานเรื่อยมาโดยไม่เปลี่ยนแปลงนับเป็นเวลาอย่างน้อย 50,000 ปี และบ่อยครั้งจะประกอบด้วยเสียงเคาะไม้ให้จังหวะ หรือเสียงทุ้มต่ำของขลุ่ยไม้ดิดเกอร์ริดู ในลักษณะที่คล้ายคลึงกันนี้ ระบำพื้นเมืองเผยให้เห็นตำนานการสร้าง แสดงการกระทำของวีรบุรุษแห่งยุคความฝัน และแม้แต่เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้

ชาวออสเตรเลียมีความรักในศิลปะอย่างเงียบ ๆ  เราพากันไปชมภาพยนตร์ จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมตามหอศิลป์และเวทีการแสดงมีมากเกือบเป็นสองเท่าของจำนวนผู้เข้าชมฟุตบอล  เมืองใหญ่ ๆ ของเราเป็นเจ้าภาพจัดงานเทศกาลทางวัฒนธรรมที่สำคัญหลายเทศกาล เมืองเหล่านี้จัดการแสดงดนตรี ละคร เต้นรำ และงานแสดงผลงานศิลปะทุกวันตลอดสัปดาห์  ชมการแสดงเต้นรำพื้นเมืองของชาวอะบอริจินโดย Bangarra Dance Theatre สนุกสนานกับงานเทศกาลดนตรีนานาชาติ WOMADelaide International Music Festival ในเมืองแอดิเลด และดื่มด่ำกับวัฒนธรรมด้วยการชมละครเวที บัลเลต์ อุปรากร และภาพวาดในศูนย์วัฒนธรรมขนาดใหญ่ย่านเซาท์แบงก์ของเมืองบริสเบรน  ในเมืองขนาดเล็ก คุณสามารถดูการแสดงของนักดนตรีพื้นเมือง และชมงานศิลปะและงานประดิษฐ์ที่ทำด้วยมือได้

07/19/14

การปรับเข้าสู่วัฒนธรรมโลก รับมือกับวัฒนธรรมที่หลากหลาย

กระบวนการโลกาภิวัฒน์ที่หมายถึงการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมสากลโลกนั้น ไม่ได้หมายความว่าคนทั้งโลกจะมีวัฒนธรรมเพียงชุดเดียว  มนุษย์เราต้องการเอกลักษณ์และความเฉพาะตัว  มีรากเหง้า เชื่อว่าการบริหารจัดการสังคมสมัยที่ซับซ้อนหลากหลายและมีพลวัตรคือปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับสังคมวัฒนธรรม  ในการตอบสนองต่อสังคม  รัฐต้องสามารถแทรกแซงและจัดการความขัดแย้งทางสังคมการเมืองได้  วิธีการจัดการนี้เรียกว่า governance ซึ่งแตกต่างจาก governing ตามที่เข้าใจกันว่าเป็นการจัดการโดยคณะบุคคลแยกต่างหากจากสังคมโดยรวม  ดังนั้นในกระบวรการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา  ความต้องการในสังคมมีอย่างน้อย 2 ระดับ  ในระดับสังคมมีความจำเป็นที่จะต้องวางแผนและกำกับทิศทาง ในระดับปัจเจก คือ ความจำเป็นที่จะต้องมีเสรีภาพ อิสระ และการมีอัตลักษณ์เฉพาะตัว องค์ประกอบของการบริหารจัดการที่ดีใน 2 ระดับนี้คือความสมดุลระหว่างองค์ประกอบส่วนสาธารณะและส่วนปัจเจกบุคคล

แนวคิด ความหลากหลายทางวัฒนธรรม  มีความเกี่ยวข้องและทับซ้อนกับแนวคิด คือ เมื่อเกิดกระแสโลกาภิวัตน์นั้นได้เกิดแนวคิดหรือกระแสที่จะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและการรักษาษาความหลากหลายวัฒนธรรมให้คงอยู่ด้วยการเกิดคู่ตรงข้ามของโลกาภิวัตน์คือ ท้องถิ่นนิยม และแนวคิดของอัตลักษณ์ ดังนั้นศึกษาวัฒนธรรมจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาและทำความเข้าใจวัฒนธรรมภายใต้กรอบของการเปลี่ยนแปลงและการก้าวพ้นออกจากพื้นที่และเวลา  เชื้อชาติ  ศาสนา  ภาษาและพรมแดนรัฐชาติในอดีต

วัฒนธรรมในปัจจุบันไม่ได้อยู่ในรูปของพฤติกรรม ศิลปะ ขนบธรรมเนียม หรือความเชื่อเท่านั้น แต่วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจสามารถกระทำการสร้างอำนาจหรือความชอบธรรมไดด้วย ในช่วงสมัยที่มารช่วงชิงอำนนาจเพื่อครอบงำระชากรโลก วัฒนธรรมคือกลไกในการเผยแพร่อุดมการณ์ได้เป็นอย่างดี แต่ในสมัยที่ความแตกต่างของอุดมการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจลดความสำคัญลง สิ่งที่ปรากฎให้เห็นเด่นชัดคือการลดความสำคัญของวัฒนธรรมรัฐชาติ วัฒนธรรมกลุ่มย่อยต่างๆ ปราะกฎรูปแบบชัดเจนมากขึ้น จนเกิดการยอมรับความคิดเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม

วัฒนธรรมอาจจะมีความแตกต่างกันได้ทั้งในระดับแนวนอนและแนวตั้ง โดยสาระแล้ว ความแตกต่างที่แท้จริงก็คือระหว่าง สิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมที่เป็นไปตามแนวนอนและแนวตั้ง ซึ่งไม่ได้หมายความถึงความเท่าเทียมกันทางวัฒนธรรม (ความเสมอบ่า เสมอไหล่ทางวัฒนธรรม) กับ วัฒนธรรมที่มีสูงกว่ากับวัฒนธรรมที่ต่ำกว่าแต่อย่างใด แต่ในความหมายของวัฒนธรรมที่รู้หรือยอมรับกันในระดับหนึ่ง กับวัฒนธรรมที่มีอยู่หลายๆระดับและหลากหลายสัมพันธภาพ ซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีความหมายลึกถึงการใช้ทรัพยากรที่ต่างกันมนุษย์จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง แลกเปลี่ยน และมีทางเลือกตลอดเวลา เพราะคำตอบเก่าไม่สามารถใช้ได้ชั่วกัลปาวสานต้องปรับคำตอบใหม่สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ฉะนั้น สังคมใดที่ขาดความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาจจะไม่สามารถที่จะเผชิญความเปลี่ยนแปลงได้ แล้วจะต้องล่มสลายไปในที่สุด หรือไม่ก็จะต้องไปเลือก ซึ่งไม่เหมาะกับสังคมตนเองมาใช้ แต่อย่างไรก็ตามความหลากหลายทางวัฒนธรรมไม่ได้หมายถึงการมีเสรีภาพเต็มที่ที่จะประพฤติปฏิบัติตามใจตนเอง จนส่งผลให้เกิดปัญหาการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างขาดความสมดุล  แต่หมายถึงการยอมรับและอยุ่ร่วมกันบนพื้นที่แห่งความหลากหลายทางความคิดและการดำรงชีวิต (livelihood) ซึ่งก็ไม่ได้หมายถึงการทำให้ “อนุวัฒนธรรม” เป็นเพียงตัวประกอบในวัฒนธรรมกระแสหลักเท่านั้น ดังนั้นการสร้างความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมเป็นการสร้างฐานรากที่สำคัญของมิตรภาพและความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างชาติ  ในโลกที่มีการติดต่อสัมพันธ์ด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว  จะต้องเสริมความเข้าใจระหว่างกันด้านความคิด วิถีชีวิต จารึกและค่านิยมที่ยังหลากหลายมากในโลกปัจจุบัน

06/23/14

การเรียนรู้ศิลปะทางสังคมและวัฒนธรรมของโลกต่างๆ

11

เมื่อพิจารณาศิลปะร่วมสมัยแบ่งออกเป็นประยุกต์ศิลป์และวิจิตรศิลป์จะเห็นว่า การดำรงอยู่และการพัฒนาของประยุกต์ศิลป์หลายแขนงในยุคสมัยต่างๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันมีลักษณะที่ต่อเนื่องเป็นรูปธรรม ด้วยเหตุผลจากความต้องการใช้สอยเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก รวมถึงเหตุผลทางธุรกิจ กลไกตลสาด อุปสงค์และอุปทาน ในขณะที่งานวิจิตรศิลป์บางแขนงกำลังประสบปัญหาด้านความอยู่รอด ทั้งความอยู่รอดของศิลปินและความอยู่รอดของตัวศิลปะเอง เงื่อนไขเชิงคุณค่า ทำให้กรอบวิวัฒนาการของประยุกต์ศิลป์กับวิจิตรศิลป์นั้นมีรูปร่างที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เพราะประยุกต์ศิลป์ เช่น สถาปัตยกรรม มัณฑนศิลป์ เรขศิลป์ แฟชั่น หรืองานศิลปะในสาขาอื่นใดที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการใช้สอย มีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเป็นตัวกำหนดรูปแบบมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง ลัทธิความเชื่อ ค่านิยม ร่วมกับปัจจัยทางภายภาพและศาสตร์อื่นๆ เช่น หลัก สรีรศาสตร์ ประชากรศาสตร์ จิตวิทยา เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองการใช้งานให้ได้ประโยชน์สูงสุดควบคู่ไปกับการสร้างสุนทรียะให้กับผู้เสพ ในขณะที่การสร้างสรรค์งานวิจิตรศิลป์เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ แรงบันดาลใจของศิลปินเป็นหลัก และมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแรงสั่นสะเทือนทางอารมณ์ความคิดของผู้เสพเป็นสำคัญ

หากจะตั้งสมมุติฐานว่า เหตุผลที่ทำให้ศิลปะดำรงอยู่เพื่อจรรโลงสังคมในสถานะที่พึ่งพิงตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นวิจิตรศิลป์หรือประยุกต์ศิลป์ก็ตาม นั่นคือศิลปะนั้นจะต้องเป็นที่ต้องการหรือต้องรสนิยมของผู้เสพ ซึ่งอาจหมายถึงความต้องการทางด้านการใช้สอย หรือความต้องการทางด้านจิตใจ จึงเป็นหนน้าที่ของศิลปินที่จะต้องแสวงหาความอยู่รอดของตัวเอง ภายใต้เงื่อนไขความเป็นจริงต่างๆ ในสังคม ณ ยุคสมัยของตน ซึ่งจะเป็นการต่อสู้ทั้งในเรื่องภาวะเศรษฐกิจ สังคม หรือค่านิยมความเชื่อและความรู้ความเข้าใจของประชาชน การวางพื้นฐานการรับรู้ที่สังคมจะมีต่องานศิลปะ เพื่อให้การเปิดรับและหากมองในเชิงการตลาด ก็หมายถึงกระบวนการในการการสร้างความต้องการบริโภคให้เกิดขึ้นนั่นเอง แม้ว่าความต้องการบริโภคจะเป็นดาบสองคมที่นำไปสู่ระบบการผลิตซ้ำ เพื่อให้เกิดงานที่ขายได้ อันจะส่งผลให้ศิลปินขาดแคลนแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์อันบริสุทธิ์ในการสร้างสรรค์งานซึ่งเป็นตัวทำลายคุณค่าของศิลปะในเวลาเดียวกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่า หากศิลปินไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ งานศิลปะก็จะไม่เกิดขึ้น

05/21/14

รู้จักภูมิปัญญาทางการเงินจากบาร์บิโลน

พอดีมีโอกาสได้อ่านหนังสือ “เศรษฐีชี้ทางรวย” ซึ่งเป็นเรื่องเล่าคล้าย ๆ นิยายของ บุรุษผู้มั่งคั่งแห่งมาบิโลน ซึ่งเป็นเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิดเรื่องของการเงินได้เป็นอย่างดีครับ สำหรับเพื่อนๆ  คนไหนสนใจวิธีคิดการจัดการเรื่องของการเงิน แนะนำให้ไปอ่านหนังสือเล่มนี้เลยครับ รับรองว่าเป็นเรื่องเล่าที่สนุก และดีขึ้นมาก ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้นี่เอง ที่จะสามารถสร้างและปั้นตัวให้เรานั้นได้เห็นอนาคตที่ชัดเจนขึ้นอย่างแน่นอนนั่นเองครับ

รู้จักภูมิปัญญาทางการเงินจากบาร์บิโลน

สำหรับบุรุษแห่งบาร์บิโลน หลาย ๆ คนอาจจะไม่ค่อยได้คุ้นชื่อมากนัก เพราะเป็นเมืองเก่าแก่ แถวแม่น้ำยูเฟรติส ตอนนี้ล่มสลายอยู่ใต้พื้นดินแล้วหล่ะครับ แต่มีเรื่องเล่าในส่วนของภูมิปัญญาของการจัดการด้านการเงินที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลย ซึ่งหากเพื่อน ๆ มีปัญหาเรื่องการเงินอยู่ ก็แนะนำหนังสือที่ผมว่าไปตั้งแต่ตอนแรกได้เลยครับ อาจจะหายากนิดหน่อย เพราะตอนนี้ทางสำนักพิมพ์ได้เลิกสั่งพิมพ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเอง

สำหรับในเนื้อเรื่องตามหนังสือนั้น เป็นเนื้อเรื่องที่สอดแทรกแง่คิด มีตัวละครหลายตัว ซึ่งมีทั้งนายทุนปล่อยกู้ อาร์บัด และคนอื่นๆ  อีกมากมายซึ่งผมเองก็จำไม่ได้เช่นเดียวกัน มี่ช่วงของเนื้อเรื่องที่คนสมัยนั้น มาประชุมเพื่อถกเถียงและหาความรู้ร่วมกัน อย่างเช่นการถกเถียงหัวข้อว่า “โชคดี” เกิดจากอะไร? เช่นเป็นการจำลองสถาการณ์ที่เยี่ยมยอดที่สุด นั่นก็คือว่า การได้เห็นว่าโชคดีที่ได้มาโดยไม่ต้องออกแรงเหนื่อยนั้น เกิดจากอะไรกันแน่

และนี่คือหัวข้อเบื้องต้นที่ทางเรานั้นได้มีข้อมูลสรุปร่วมกันนั่นเองครับ ถ้าคิดไปแล้วหากตามหมู่บ้านของเรานั้น มีพื้นที่ส่วนกลางหนึ่งของหมู่บ้าน โดยในแต่ละวันจะมีคนมาถกเถียงเพื่อหาความรู้กันในแต่ละวันอย่างเยี่ยมยอด หาข้อสรุปร่วมกัน โดยสิ่งนี้นั้น จึงไม่แปลกที่ชาวบาร์บิโลน จะมีความมั่งคั่งในยุคสมัยก่อนได้อย่างลงตัวนั่นเอง สิ่งที่สำคัญตอนนี้นั้น ภูมิปัญญาทางการเงินที่ได้รับมานั้น ย่อมสร้างความแตกต่างและความมั่งคั่งให้กับผู้ที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลานั่นเอง และสิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นคุณค่าอย่างยิ่งในเวลาต่อมาด้วยนั่นเองครับ